วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

 

รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

The Instructional Leadership Development Model for School Administrators in 21

 : ชื่อผู้วิจัย นายวิเชียร ทองคลี่

 : ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา

 : ครูและบุคลากรทางการศึกษา

 : ปี 2560

 บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1) การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และการศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1-42 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ขั้นตอนที่ 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาใช้ยกร่างรูปแบบการพัฒนา และการสัมมนา อิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 ท่าน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความเหมาะสมของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคกลาง จำนวน 7 คน ภาคเหนือ จำนวน 7 คน ภาคใต้ จำนวน 7 คน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การสร้างเครือข่ายความร่วมมือการทำงาน และการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการสร้างเครือข่ายการทำงาน

2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) แนวคิด หลักการ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล และวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2) การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียน ได้แก่ วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษา และการจัดการความรู้ในสถานศึกษา ส่วนที่ 3) การประเมินผลหลังการพัฒนา ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ขอบข่ายเนื้อหา กิจกรรม สื่อ/แบบทดสอบ และเกณฑ์การประเมิน

3. ผลการประเมินความเป็นไปได้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มากที่สุด ได้แก่ ส่วนที่ 1) แนวคิดหลักการ ระดับมาก รองลงมา ส่วนที่ 3 การประเมินผลหลังการพัฒนา ระดับมาก และส่วนที่ 2) การดำเนินการพัฒนา ระดับมาก ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ การพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มากที่สุด ได้แก่ ส่วนที่ 1 แนวคิดหลักการ รองลงมาได้แก่ ส่วนที่ 3 การประเมินผลหลังการพัฒนา ระดับมากที่สุด และส่วนที่ 2 การดำเนินการพัฒนา ระดับมาก ตามลำดับ

วิเชียร ทองคลี่ (2560) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Rms 2016 TIC