วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
System Leadership and School Leadership
System Leadership and School Leadership
The Empowering Leadership Project
The Empowering Leadership Project
ระบบ RMS 2016 จะทำงานผ่ำนโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) โดยผู้ใช้งานสำมารถ เรียกใช้งานผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (Computer Server) ดังนั้นผู้ใช้งานจึงไม่จำเป็นจะต้องติดตั้ง ระบบอีกทั้งยังสามารถเรียกใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลาตราบเท่าที่ยังสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
1. กำรเข้ำสู่ระบบ
การเข้าสู่ระบบ
กลุ่มผู้ใช้สามารถแต่ละกลุ่มเข้าสู่ระบบได้โดยการระบุ ชื่อผู้ใช้งาน (Username)
และรหัส ผ่าน (Password) เริ่มต้น ได้ดังนี้
กลุ่มครูและเจ้าหน้าที่ สามารถใช้ Username
: รหัสประชาชน และ Password
: รหัสประชาชน
กลุ่มนักเรียน สามารถใช้ Username
: รหัสนักเรียน และ Password : วัน/เดือน/ปีเกิด
เช่น 31/03/2540
กลุ่มผู้ปกครอง สามารถใช้ Username
: รหัสประชาชนของนักเรียน และ Password : วัน/เดือน/ปีเกิด
ของนักเรียน เช่น 31/03/2540
กลุ่มศิษย์เก่า สามารถใช้ Username : รหัสนักเรียนก่อนที่จะศึกษาจบ และ Password : วัน/เดือน/ปี เกิด เช่น 31/03/2540
แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่
21
สุกัญญา แช่มช้อย
ดร. ภาควิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Abstract
บทคัดย่อ
โลกในยุคปัจจุบันได้หมุนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของเศรษฐกิจฐานความรู้
(Knowledge-based-Economy) ที่ปัจจัยในการผลิตและแข่งขันกำลังเปลี่ยนไปเป็นปัจจัยที่ไม่อาจจับต้องได้มากขึ้น
ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ทุกองค์การสร้างจุดยืนที่เข้มแข็ง
เป็นองค์การแห่งนวัตกรรมโดยมีเป้าหมายเพื่อความอยู่รอด การเจริญเติบโต
และการสร้างสมรรถนะในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
กระแสการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งเข้าสู่ยุคนวัตกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.
2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 หมวด 9 เทคโนโลยีทางการศึกษา กำหนดว่ารัฐจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต
และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์
และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต
จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และผู้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษาต่าง ๆ จะต้องพัฒนานวัตกรรม
หรือนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ในบทความนี้จะมุ่งเน้นนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการให้เกิดนวัตกรรมขององค์การหรือสถานศึกษา
ผู้นำหรือผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องอาศัยทักษะการคิดที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์
หรือที่เรียกว่าทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking Skills) ซึ่งเป็นทักษะความคิดพื้นฐานในการทำให้เกิดนวัตกรรมในองค์การ
รวมทั้งการที่ผู้บริหารใช้นวัตกรรมในการนำองค์การอย่างมีสร้างสรรค์ (InnovativeLeader)
ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์
คือ คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ แนวคิด วิธีการ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีใหม่ ๆ (Innovative
Product) อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้สถานศึกษาเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม
(Innovative Organization)
คำสำคัญ: นวัตกรรม, ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม,
ผู้นำเชิงนวัตกรรม, องค์การแห่งนวัตกรรม, การบริหารสถานศึกษา
สุกัญญา แช่มช้อย (2555)แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่
21วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่
14 ฉบับที่ 2 หน้าที่ 118-128
การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Development of Indicators on Innovative Leadership of
School Directors under Offices of Primary Education Service Areas in the
Northeast of Thailand
Article Sidebar
Published: Jan 21, 2020Keywords:
ตัวบ่งชี้, การพัฒนาตัวบ่งชี้,
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา,
Indicators, development of indicators, Innovative Leadership, School Directors
Main Article Content
ฐิตินันท์ นันทะศรี และคณะ Thitinan
Nanthasri and Others
สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)
พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2)
ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์
และ 3) สร้างคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
ในการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed
Methods) โดยดำเนินการเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1
การสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ระยะที่ 2
การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์
เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 721 คน
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น แบบสอบถาม
เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5
ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.55 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ
โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.82 ระยะที่ 3
การสร้างคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประเมินคุณภาพโดยใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert scale)
ผลการวิจัย พบว่า
1.
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามี 5 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย
96 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น การมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม จำนวน 19 ตัวบ่งชี้
การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรม จำนวน 26 ตัวบ่งชี้
การมีทักษะการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม จำนวน 13 ตัวบ่งชี้
การแสดงบทบาทหน้าที่เชิงนวัตกรรม จำนวน 18 ตัวบ่งชี้
และการมีบุคลิกภาพเชิงนวัตกรรม จำนวน 20 ตัวบ่งชี้
2.
โมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chi-Square : c2)
เท่ากับ 37.41 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ df เท่ากับ 54
ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99
ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ
0.98 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ
0.00
3.
คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
สามารถนำไปใช้สร้างเกณฑ์ประเมินภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาได้
ฐิตินันท์ นันทะศรี และคณะ Thitinan
Nanthasri and Others (2563)การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วารสารงานวิชาการและงานวิจัยสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.ฉบับที่ 3
ปีที่ 14 หน้า 93-106
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่
21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
The Instructional Leadership Development Model for School
Administrators in 21
:
ชื่อผู้วิจัย นายวิเชียร ทองคลี่
:
ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
:
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี
2560
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)
ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2)
เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 3)
เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่
21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม
แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1)
การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
โดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่
21 และการศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1-42
ปีการศึกษา 2557 จำนวน 330 คน
เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่
21 ขั้นตอนที่ 2)
การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาใช้ยกร่างรูปแบบการพัฒนา และการสัมมนา
อิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 ท่าน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
และความเหมาะสมของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3)
การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคกลาง จำนวน 7 คน ภาคเหนือ จำนวน 7
คน ภาคใต้ จำนวน 7 คน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า
1.
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่
การมีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การสร้างเครือข่ายความร่วมมือการทำงาน
และการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่
ด้านการมีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร
ด้านการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
ตามลำดับ ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการสร้างเครือข่ายการทำงาน
2.
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1)
แนวคิด หลักการ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล และวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2)
การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5
หน่วยการเรียน ได้แก่ วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษา
และการจัดการความรู้ในสถานศึกษา ส่วนที่ 3) การประเมินผลหลังการพัฒนา ประกอบด้วย
วัตถุประสงค์ ขอบข่ายเนื้อหา กิจกรรม สื่อ/แบบทดสอบ และเกณฑ์การประเมิน
3.
ผลการประเมินความเป็นไปได้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่
21 โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มากที่สุด ได้แก่ ส่วนที่ 1)
แนวคิดหลักการ ระดับมาก รองลงมา ส่วนที่ 3 การประเมินผลหลังการพัฒนา ระดับมาก
และส่วนที่ 2) การดำเนินการพัฒนา ระดับมาก ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ
การพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มากที่สุด ได้แก่ ส่วนที่ 1 แนวคิดหลักการ
รองลงมาได้แก่ ส่วนที่ 3 การประเมินผลหลังการพัฒนา ระดับมากที่สุด และส่วนที่ 2
การดำเนินการพัฒนา ระดับมาก ตามลำดับ
วิเชียร ทองคลี่ (2560) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่
21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
การพัฒนาการมีส่วนร่วมของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านดงมะกรูดทรายทอง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
การพัฒนาการมีส่วนร่วมของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน
: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านดงมะกรูดทรายทอง
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
THE DEVELOPMENT OF PARTICIPATION ON ACADEMIC AFFAIR
MANAGEMENT IN SCHOOL : A CASE STUDY ON BANDONGMAKRUDSAITONG SCHOOL UNDER THE
OFFICE OF UDON THANI PRIMARYEDUCATIONAL SERVICE AREA 1
:
ชื่อผู้วิจัย ทิพยวรรณ แพงบุปผา
:
ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ประถม
- มัธยมศึกษา
: ปี
2560
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของการบริหารงานวิชาการ ในโรงเรียนบ้านดงมะกรูดทรายทอง
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดําเนินการ 3 วงจร
ตามแนวคิดของเคมมิส และแม็คแท็กการ์ท ซึ่งแต่ละวงจรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล
กลุ่มผู้ร่วมวิจัยคือผู้มีส่วนได้เสียของโรงเรียนบ้านดงมะกรูดทรายทอง จํานวน 40 คน
ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 1 คน ครู 9 คน นักเรียน 10 คน กรรมการสถานศึกษา 10
คน และผู้ปกครองนักเรียน 10 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ประกอบด้วย แบบสังเกต
แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึก
ผลการวิจัย พบว่า
ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน
อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการใน 5
ด้าน คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนา
สื่อนวัตกรรม และ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
และการส่งเสริมความรู้แก่ชุมชน ดําเนินโครงการ 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการหลักสูตรท้องถิ่นการจัดทําพานบายศรี
โครงการส่งเสริมผู้เรียนมีทักษะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียน
และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โครงการปรับปรุงห้องเรียนคอมพิวเตอร์
โครงการสร้างห้องสมุด และโครงการกีฬาสัมพันธ์ ผลการดําเนินโครงการวิจัย
เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมทั้ง 5 โครงการ พบว่า
เกิดการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการร่วมคิดค้น ปัญหาและตัดสินใจ ร่วมกันวางแผน
ร่วมปฏิบัติ ร่วมกันสังเกตผลและร่วมกันสะท้อนผล มีการจัดทํา
แผนปฏิบัติร่วมกันและนําไปสู่การพัฒนาบริหารงานวิชาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ทิพยวรรณ แพงบุปผา (2560) การพัฒนาการมีส่วนร่วมของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน
: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านดงมะกรูดทรายทอง
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จ.อุดรธานี .สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ความคิดเห็นของคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและผู้บริหารการศึกษา เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด
Title
ความคิดเห็นของคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและผู้บริหารการศึกษา
เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด
Title Alternative
Opinions of the national primary education
commission and school administrators concerning desired characteristics of
directors of provincial primary education offices
Creator
Name: ทวีศักดิ์ จันทรสาร
Subject
ThaSH: ผู้อำนวยการการประถมศึกษา
ThaSH: คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
ThaSH: การศึกษาขั้นประถม -- การบริหาร
Description
Abstract: ความมุ่งหมายของการวิจัย
๑. เพื่อศึกษาลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดในด้านความรู้
ทักษะ และลักษณะนิสัยตามความคิดเห็นของคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ
และผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ
และผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด
สมมติฐานของการวิจัย ความคิดเห็นของคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ
ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ
และผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดไม่แตกต่างกัน
โดยแยกพิจารณาเป็น ๓ ด้าน คือ ๑. ลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ ๒.
ลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะ ๓. ลักษณะที่พึงประสงค์ด้านลักษณะนิสัย
วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี ๔ กลุ่ม คือ
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน ๒๙ คน ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด ๖๓
คน หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ จำนวน ๒๕๑ คน
และผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน ๔๐๐ คน รวม ๗๔๓ คน ๒
กลุ่มแรกใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และ ๒ กลุ่มหลังใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม
ส่งแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างรวม ๗๔๓ ฉบับ ได้รับคืนมา ๖๔๔ ฉบับ
ตรวจสอบแล้วมีความสมบูรณ์นำไปวิเคราะห์ได้ ๖๒๘ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๕๒
ของแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบ (Check List) และแบบประมาณค่า (Rating Scale) ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัว
ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดในด้านความรู้ ด้านทักษะ
และด้านลักษณะนิสัย การวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่า เอฟ (F-Test) และการวิเคราะห์ช่วงคะแนนเฉลี่ย (Multiple Range Test) ผลการวิจัย ๑.
ความคิดเห็นของคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด
หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ
และผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดสรุปได้ดังนี้
๑.๑ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง ๔
กลุ่มที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ ๒๕ ข้อ อยู่ในระดับสำคัญมาก ๒๓ ข้อ
ระดับสำคัญอย่างยิ่ง ๑ ข้อ และระดับสำคัญ ๑ ข้อ
ลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ระดับสำคัญอย่างยิ่งคือ
มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระบบการจัดองค์กรบริหารการประถมศึกษาเป็นอย่างดี
และลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ระดับสำคัญคือ มีความรู้และวุฒิอย่างต่ำอยู่ในระดับปริญญาโททางการศึกษา
๑.๒ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง ๔
กลุ่มที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะ ๒๓ ข้อ อยู่ในระดับสำคัญมาก ๒๒ ข้อ
ที่ต่างออกไป ๑ ข้อ อยู่ในระดับสำคัญอย่างยิ่ง คือ
มีความสามารถที่จะวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารงานได้อย่างถูกต้อง
มีหลักการและคุณภาพ ๑.๓ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง ๔
กลุ่มที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ด้านลักษณะนิสัย จำนวน ๒๕ ข้อ
อยู่ในระดับสำคัญมาก ๑๗ ข้อ ระดับสำคัญอย่างยิ่ง ๖ ข้อ และระดับสำคัญ ๒ ข้อ
ลักษณะที่พึงประสงค์ด้านลักษณะนิสัยระดับสำคัญอย่างยิ่ง คือ มีความยุติธรรม
มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต มีความจริงใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน
เป็นผู้ตรงต่อเวลา มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย และมีความขยันและอุทิศเวลาให้แก่งาน
ส่วนลักษณะที่พึงประสงค์ด้านลักษณะนิสัยระดับสำคัญได้แก่ มีใจกว้าง ไม่ตระหนี่ต่อการใช้จ่ายเพื่อให้รางวัลและการสังสรรค์ในสังคม
และตำหนิผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำงานผิดพลาดในที่ประชุมอย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ ๒.
ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างทั้ง ๔
กลุ่มที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้และด้านทักษะไม่แตกต่างกัน
แต่ความคิดเห็นของคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ด้านลักษณะนิสัยแตกต่างจากความคิดเห็นของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด
หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และผู้บริหารโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ
P< .๐๕
Publisher
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานวิทยทรัพยากร
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: cuir@car.chula.ac.th
Contributor
Name: นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Role: ที่ปรึกษา
Date
Created: 2561
Modified: 2563-09-08
Issued: 2561-04-25
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
ISBN: 9745647845
Language
tha
Thesis
DegreeName: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: บริหารการศึกษา
Grantor: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Rights
©copyrights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทวีศักดิ์ จันทรสาร (2561)ความคิดเห็นของคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและผู้บริหารการศึกษา
เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
โปรแกรมระบการหริหารจัดการสำนังานของวิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ (RMS 2016)
-
System Leadership and School Leadership Gurr, David; Drysdale, Lawrie Research in Educational Administration & Leadership , v3 n2 p207...